ถ้านักบอล ทุกคนมีจิตใจ มีน้ำใจ ผลการแข่งขันจะมีอยู่เพียง ชั่วครู่ ขณะที่หมดเวลาการแข่งขัน เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน สภาพของความยิ้มแย้มแจ่มใสยินดี กับผู้ชนะ เข้าใจปลอบใจให้กับผู้แม้ ยอมรับในคุณธรรมหลักการของปัญหาต่าง ๆก็จะไม่เกิดขึ้น ไม่เกิดความเดียดแค้น ความก้าวร้าว หรือการทำลาย เมื่อเรามองลึกไปถึงเบื้องหลังเหล่านั้น จะเห็น ครูพลศึกษาของแต่ละโรงเรียน หรือครู ซึ่งในอดีต ก็คือ นักบอล เป็นผู้เคย แข่งขันมาแล้ว ยิ่งเป็นครูพลศึกษาที่จบมาจากกรมพลศึกษาโดยตรง ยิ่งต้องคำนึงถึงคุณ ธรรมเหล่านี้อย่างมากว่า ทำไม่ปรัชญาของการพลศึกษาก็ดี คุณธรรมของนักบอล ก็ดี ที่มุ่งหวังสร้างนักบอล หรือผู้เล่นทุกคน ให้มีน้ำใจนั้นหายไปไหน ทำไม่ใน ปัจจุบันจึงมีแต่ความทารุณโหดร้าย มุ่งผลแพ้ชนะอยางเอาเป็นเอาตาย ซึ่งผิดจากปรัชญาหลัก ของการพลศึกษาไปอย่างสิ้นเชิง
ในปัจจุบันวงการพลศึกษาเจริญก้าวหน้ามากขึ้นด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆสามารถ สร้างความสามารถสูงสุดให้กับนักกีฬาได้สูงแต่จิตไจหรือน้ำใจค่ำาลง ดังนั้นความมุ่งหมายของของปรัชญาพลศึกษาที่จะต้องใช้กิจกรรมพลศึกษา เพื่อส่งเสริมเยาวชนให้ เกิดการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม สามารถมีชิรีตในสังคมอย่างเป็นสุข นั้น ก็เป็นไปไม่ได้ และการเรียนการสอนกีฬา ในปัจจุบันจึงเปลี่ยนไปไม่ตรงตามจุดมุ่งหมายในแนวปรัชญาที่ตั้งไวั จากข้อคิดนี้จึงควรนำมาช่วยกันพิจารณาว่าจะทำอย่างไรจึงจะ แก้ไขให้ดีขึ้น และถูกต้องตามหลักปรัชญาทางพลศึกษา
ครูฝึก นับเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะแก้ไขปัญหานี้ การที่ครูฝึก มุ่งเน้นคุณธรรมมากกว่าผล ของการเล่น เมื่อนั้นปรัชญาของการแข่งขันบอล ก็จะเป็นไปได้งดงามตามความมุ่งหมาย